ผมเข้าใจว่า แต่ละ g-mail address จะสร้าง blog ได้ blog เดี่ยว ตอนนี้เข้าใจถูกแล้ว ว่า ไม่ใช่
ภาพตอนนี้
เจ้า blogger ก็สามารถสร้าง ชุมชน ส่วนตัว (ขนาดสมาชิกไม่เกิน 100 ได้) ที่น่าสนใจ ชุมชนหนึ่งทีเดียว
วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552
วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มาเลี้ยงปลาทะเลกันเถอะ
ปัจจุบันมีปลาทะเลหลากหลายสายพันธุ์ ที่สามารถเพาะพันธ์และจำหน่ายได้โดยไม่ผิดกฏหมาย ประกอบกับเทคโนโลยีของอุปกรณ์การเลี้ยงปลา ทำให้การเลี้ยงปลาทะเลเป็นเรื่องง่ายพอๆกับการเลี้ยงปลาน้ำจืด และด้วยความสวยงามของสีสันปลาทะเลจึงไม่น่าแปลกใจที่ปัจจุบันจะมีผู้เลี้ยงปลาทะเลเพิ่มมากขึ้น สังเกตจากร้านค้าในตลาดนัดซันเดย์ที่มองไปทางไหนก็เห็นแต่ร้านขายปลาทะเล
1. ภาชนะใส่ปลา แน่นอนว่าจะเลี้ยงปลาก็ต้องมีที่ใส่ปลาซึ่งก็คงต้องแล้วแต่ความชอบครับ บางท่านนิยมเลี้ยงในตู้ บางท่านนิยมเลี้ยงในบ่อ แต่ในขั้นเริ่มต้นผมขอแนะนำแบบมาตรฐานคือเลี้ยงในตู้ครับ ขนาดตู้ควรมีขนาดตั้งแต่ 24 นิ้วขึ้นไป ครับเนื่องจากตู้ขนาดเล็กอุณหภูมิของน้ำจะไม่คงที่ซึ่งจะมีผลต่อปลา ปลาก็เหมือนคนเราครับถ้าร้อนๆหนาวๆ เราก็คงป่วย ปลาก็ป่วยเป็นครับ ส่วนวัสดุของตู้ปลาก็มีทั้งแบบกระจก และอคิลิค บางท่านอาจจะเคยเห็นตู้ปลาที่มีความโค้งนั่นล่ะครับตู้อคิลิค แน่นอนว่าราคาสูงกว่าตู้กระจกครับ ทั้งนี้ขนาดของตู้ควรจะผันแปรกับปริมาณของปลาที่ท่านจะเลี้ยงครับ ท่านคงไม่อยากให้ตู้ปลาของท่านกลายเป็นสลัมปลาจริงมั๊ยครับ
2. โปรตีนสกิมเมอร์ อะไรนี่ชื่อแปลกๆ อันที่จริงมันก็คืออุปกรณ์ที่ช่วยขจัดของเสียออกจากตู้ปลา คล้ายบ่อบำบัดน้ำเสียครับโดยการทำงานของเจ้าเครื่องนี้จะทำการปั่นน้ำให้เกิดเป็นฟองเพื่อให้แรงตึงผิวของฟองเป็นตัวจับไขมันและโปรตีนที่ละลายอยู่ในน้ำ

2. โปรตีนสกิมเมอร์ อะไรนี่ชื่อแปลกๆ อันที่จริงมันก็คืออุปกรณ์ที่ช่วยขจัดของเสียออกจากตู้ปลา คล้ายบ่อบำบัดน้ำเสียครับโดยการทำงานของเจ้าเครื่องนี้จะทำการปั่นน้ำให้เกิดเป็นฟองเพื่อให้แรงตึงผิวของฟองเป็นตัวจับไขมันและโปรตีนที่ละลายอยู่ในน้ำ
3. ปั๊มน้ำ เจ้านี่หากท่านเคยเลี้ยงปลาน้ำจืดมาแล้วคงไม่ต้องอธิบายมากครับ นับเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งซึ่งจะต่อเข้ากับโปรตีนสกิมเมอร์ครับ โดยเจ้าปั๊มน้ำนี่องที่จะช่วยเป็นพลังในการปั่นน้ำของสกิมเมอร์ ดังนั้น 2 สิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กัน
4. วัสดุกรอง ตามชื่อเลยครับทำหน้าที่เป็นตัวกรองของเสียเช่นขี้ปลา เศษอาหาร และของเสียอื่นๆ ปัจจุบันวัสดุที่นิยมใช้กันคือ ใยแก้ว
5. หินเป็น อ้าวหินมีตายด้วยเหรอพี่ เอ่อคือที่เค้าเรียกหินเป็นเพราะในหินจะมีแบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในกา
รกำจัดของเสียในตู้ปลา ซึ่งถ้าเจ้าแบคทีเรียพวกนี้ตายหมดแล้วหินก็เป็นแค่หินที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงแค่นั้นซากแบคทีเรียที่ตายอาจเป็นสาเหตุทำให้น้ำเน่าตามมาอีกต่างหาก (รายละเอียดเพิ่มเติม)

6. วัสดุรองพื้นตู้ ส่วนของพื้นตู้อาจรองด้วยทรายหรือเศษปะการังหัก หรืออาจจะไม่รองอะไรเลยก็ได้ซึ่งมีข้อดีขอ้อเสียแตกต่างกันคือหากไม่รองพื้นเลยก็จะไม่เกิดการหมักหมมของๆเสีย การทำความสะอาดง่าย แต่ก็มีข้อเสียคืออาจดูไม่เป็นธรรมชาติ และการปูพื้นด้วยทรายและเศษปะการังยังเป็นการสร้างที่อยู่อาศัยให้ปลาบางชนิดและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย
7. จุลินทรีย์ เราคงอยาก
ให้ปลาของเรามีสุขภาพแข็งแรง แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมของปลาถูกจำกัดอยู่ในตู้เล็กๆ เราจึงจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด การเติมจุลินทรีย์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มปริมาณสิ่งมีชีวิตให้ตู้ปลาของเรามีสภาพแวดล้อมคล้ายธรรมชาติครับ ในการเติมจุลินทรีย์อาจจะเติมแค่ในระยะแรกหากระบบคงที่แล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องใส่แล้วครับ

8. ไฟแสงสว่าง อันที่จริงหากเลี้ยงปลาอย่างเดียวไม่เลี้ยงปะการัง แสงสว่างไม่จำเป็นเล
ยครับ แต่เราคงไม่อยากให้ตู้ปลาดูมืด ดังนั้นเอาเป็นว่าไฟอะไรก็ได้ขอให้เห็นตัวปลาก็เป็นอันว่าใช้ได้ครับ

9. น้ำเค็ม น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทะเลแบ่งเป็น 2 ลักษณะครับ คือ น้ำทะเลจริงและน้ำทะเลเทียม ซึ่งปัจจุบันการสร้างน้ำทะเลเทียมง่ายมากเพียงแค่นำเกลือวิทยาศาสตร์ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาทะเลทั่วไป ผสมกับน้ำจืด ก็ได้น้ำทะเลแล้วครับ ส่วนน้ำทะเลจริงตามร้านขายปลาทะเลก็มีขายครับราคาไม่ต่างกันมากนัก

10. ที่วัดความเค็ม ควรมีไว้สำหรับผู้ที่ต้องการผสมน้ำทะเลเองครับ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเราดูว่าความเค็มมากหรือน้อยเกินไปหรือไม่
11. ปลา อันนี้พระเอกของเราครับขาดไม่ได้ ก่อนจะซื้อปลามาเลี้ยงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปลาเหล่านั้นก่อนว่ากินอะไร บางชนิดกินอาหารเม็ดได้บางชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นครับ และที่สำคัญควรเลือกเฉพาะปลาที่ถูกเพาะมาจากฟาร์มเท่านั้นครับ ไม่ควรเห็นแต่ความสวยงามแล้วไปสนับสนุนปลาที่จับมาจากธรรมชาติครับ

รูปที่มา http://siamreefclub.com
ดูปลาแล้วมาดู MV กันเถอะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)